ไมโครมิเตอร์
ไมโครมิเตอร์วัดนอก
ก่อนการใช้งาน
1. ตรวจสอบปลอกหมุน (Thimble) ว่าสามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ติดขัด หรือสะดุด โดยทำการหมุนปลอกหมุนตลอดช่วงใช้งาน
2. หนีบการะดาษไร้ขนระหว่างแกนรับ (Anvil) และแกนหมุน (Spindle) ลักษณะเหมือนทำการวัดความหนา จากนั้นจึงค่อยๆดึงแผ่นกระดาษออก เพื่อเป็นการดึงฝุ่น หรือสิ่งสกปรกออกจ่ากหน้าสัมผัส (Measuring face)
3. เลื่อนหน้าสัมผัสให้ชนกันอย่างช้าๆ :
• หมุนที่ก้านตัดแรง (Ratchet Stop) 1.5-2 รอบ ประมาณ 3-5 ครั้ง เพื่อทดสอบตำแหน่งศูนย์* (Zero-point check)
หากมีแรงกระทำที่แกนรับมากเกินไป จะส่งผลต่อค่าความถูกต้องของไมโครมิเตอร์ได้
• ถ้าตำแหน่งศูนย์ไม่ตรงให้ตั้งค่าใหม่โดยการหมุนปลอกใน (Sleeve) ด้วยประแจ โดยเคาะด้ามประแจด้วยค้อนเบาๆถ้าจำเป็น
4. เมื่อทำการตั้งค่าตำแหน่งศูนย์ (Zero point) ของไมโครมิเตอร์ขนาดใหญ่ ให้ทำการตั้งค่าในลักษณะเดียวกับการวัดงานจริง เพื่อลดค่าความไม่แน่นอนของการวัด อันเนื่องมาจากการบิดตัวของโครงสร้าง
ระหว่างการใช้งาน
1. อ่านขีดสเกลในแนวตั้งฉาก เพื่อป้องกันการอ่านที่ผิดพลาดจากการเหลื่อม (Parallax error)
2. ความกว้างของเส้นสเกลแสดงระยะประมาณ 2μm และสามารถแบ่งเพื่ออ่านค่าที่ใกล้เคียงกับระยะ 1μท
3. ระวังไม่ให้แกนหมุนถูกกระแทกระหว่างการใช้งาน
4. หากมีการใช้งานต่อเนื่องเป็นช่วงหนึ่ง ควรทำการตรวจสอบตำแหน่งศูนย์เป็นระยะ (และทำการปรับตั้งเมื่อจำเป็น) เพราะตำแหน่งศูนย์ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวเนื่องจากความร้อน
หากเครื่องมือชำรุด อันเนื่องมาจากการตก หรือกระแทกอย่างแรง หรือสาเหตุอื่นๆ ห้ามใช้งาน และให้ติดต่อกลับบริษัท เพื่อทำการซ่อมแซม
หลังการใช้งาน
1. ตรวจสอบสภาพของไมโครมิเตอร์ ถ้าตรวจพบว่าชำรุดควรส่งซ่อม หรือจัดหารใหม่เพื่อทดแทน ทำความสะอาดเครื่องมือ หากใช้เครื่องมือวัดในบริเวณที่มีการใช้น้ำมันตัด ควรเคลือบน้ำมันกันสนิมหลังทำความสะอาด
2. ปลดแกนล็อก และหมุนหน้าสัมผัสออกห่างจากกันประมาณ 0.2-2mm ก่อนทำการเก็บเครื่องมือวัด
3. จัดเก็บเครื่องมือวัดในห้องที่ไม่มีความร้อน และความชื้นสูง รวมถึงฝุ่น และละอองน้ำมัน
4. เมื่อต้องการจัดเก็บเครื่องมือวัดเป็นระยะเวลานาน ให้ใช้นำมันไมโครมิเตอร์ (Order No. 207000) ทีที่แกนหมุนเพื่อป้องกันสนิม