ก่อนการใช้งาน

  1. ทำความสะอาดจุดสัมผัสด้วยผ้าแห้ง
  2. ขยับสไตลัส (Stylus) ขึ้นลงตลอดช่วงการใช้งานเพื่อเช็คว่าสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างราบเรียบไม่ติดขัดหรือสะดุด
  3. ต้องแน่ใจว่าใช้สไตลัสที่มีความยาวตามมาตรฐานที่สอดคล้องกับรุ่นที่ใช้งาน ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดความผิดพลาดจากการวัดค่าอย่างมาก (Fig.1)

ก่อนการใช้งาน

  1. ใช้อุปกรณ์จับยึด (Holding Fixture) มีความแข็งแรง มั่นคงระหว่างที่ใช้งานปกติ (Fig.2)
  2. ไม่ควรถอดชิ้นส่วน หรือปรับแต่งอินดิเคเตอร์ เนื่องจากอาจจะส่งผลต่อค่าความถูกต้องและเกิดความเสี่ยหายได้
  3. ตัวคูณมาตราส่วน (Scale factor) ของไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ขึ้นอยู่กับมุมระหว่างทิศทางการขยับของหัววัด (Contact point) และทิศทางขยับของชิ้นงาน ซึ่งจะอยู่ในทิศทางเดียวกัน เมื่อทำการวางแนวให้ตรงกันเท่านั้น ในทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงค่าผิดพลาด หากค่ามุม θ (ดู Fig.3) ในระหว่างการวัดงานมีค่าน้อยกว่า 10° สามารถตัดตัวคูณมาตราส่วนออกไปได้ (ไม่ต้องนำมาคำนวนณ) และหากไม่สามารถทำให้มุมมีขนาดเล็กได้ ต้องน้ำตัวคูณ (Factor) มาคำนวณร่วมกับค่าที่อ่านได้จากไดอัล เพื่อเป็นการชดเชยค่า “โคไซน์เอฟเฟค” (cosine effect) ตามตารางข้างล่าง

หากเครื่องมือวัดเกิดความเสียหาย อันเนื่องมาจากการตก หรือกระแทกอย่างแรง หรือสาเหตุอื่นๆ ห้ามใช้เครื่องมือวัดนั้น และให้ติดต่อกลับบริษัทฯ เพื่อทำการซ่อมแซม

หลังการใช้งาน

  1. ตรวจสอบความเสียหายของอินดิเคเตอร์ ถ้าตรวจพบให้เตรียมการซ่อมแซม หรือทดแทน จากนั้นทำความสะอาดเครื่องมือวัด
  2. จัดเก็บเครื่องมือวัดในห้องที่ไม่มีความร้อน และความชื้นสูง รวมถึงฝุ่นและละอองน้ำมัน