ก่อนการใช้งาน

  1. ใช้ผ้าแห้ง หรือผ้าชุบแอลกอฮอล์ เพื่อทำความสะอาดแกนเลื่อน (Spindle) โดยไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น
  2. ขยับแกนเลื่อนไปมาตลอดแนวความยาวเพื่อเช็คว่าสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรายเรียบไม่ติดขัด
  3. ใส่ถ่านขนาด SR44 (Order No.938882).
  4. เมื่อตั้งค่าจุดศูนย์ ดึงแกนเลื่อนอย่างน้อย 0.2 mm จากจุดพัก (Fig.1)
  5. หลีกเลี่ยงการวัดค่าผิดพลาดอันเนื่องมาจากโคไซน์เอฟเฟค (Cosine effect) ต้องมั่นใจว่าแกนเลื่อนอยู่ในแนวตำแหน่งที่จะวัดได้อย่างแม่นยำ (Photo 1) นอกจากนี้ผิวหน้าสัมผัสที่ขรุขระ อาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการวัดได้
  6. หากมีการใช่เครื่องมือวัดในบริเวณที่เต็มไปด้วยละอองน้ำมัน หรือฝุ่นละออง แนะนำให้ใช้เครื่องมือวัดประเภทกันน้ำกันฝุ่น (water/dust-proof type)

ก่อนการใช้งาน

  1. ไม่ควรขยับแกนเลื่อนอย่างเร็ว หรือใช้แรงดันในแนวข้าง เพราะอาจจะส่งผลต่อความแม่นยำของเครื่องมือวัด (Fig.2)
  2. ใช้อุปกรณ์จับยึด (Holding fixture) มีความแข็งแรงมั่นคงระหว่าที่ใช้งานปกติ
  3. ล็อคตัวยึด (lug) ให้แกนเลื่อน (spindler) อยู่แนวตั้งฉากกับผิวหน้าที่จะทำการวัด (Fig.3) แนะนำให้ใช้คาน (lifting levers) สำหรับยก และปล่อยแกนเลื่อน
  4. ตัวอักษร “E” ที่ปรากฎเป็นบางครั้งบนหน้าจอในตำแหน่งสุดท้ายขณะมีการขยับแกนเลื่อนเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตามถ้าหากแสดงผลต่อไป แม้ว่าแกนเลื่อนจะไม่ขยับแล้ว จำเป็นต้องนำเครื่่องซ่อมบำรุง (Fig.4)

หากเครื่องมือวัดเกิดความเสียหาย อันเนื่องมาจากการตก หรือกระแทกอย่างแรง หรือสาเหตุอื่นๆ ห้ามใช้เครื่องมือวัดนั้น และให้ติดต่อกลับบริษัทฯ เพื่อทำการซ่อมแซม

หลังการใช้งาน

  1. ตรวจสอบความเสียหายของอินดิเคเตอร์ ถ้าตรวจพบให้เตรียมการซ่อมแซม หรือทดแทน จากนั้นทำความสะอาดเครื่องมือวัด
  2. ไม่ควรใช้น้ำมันหล่อลื่นกับแกนเลื่อน
  3. ถ้าเครื่องมือวัดไม่ได้ใช้เป็นระยะเวลานาน ให้ทำการถอดแบตเตอรี่ออกก่อนทำการจัดเก็บ
  4. จัดเก็บเครื่องมือวัดในห้องที่ไม่มีความร้อน และความชื้นสูง รวมถึงฝุ่นและละอองน้ำมัน