ก่อนการใช้งาน

  1. ทำความสะอาดแกนเลื่อน (Spindle) หน้าสัมผัส (Contact point) และแกนรับ (Anvil) ด้วยผ้าแห้ง หรือผ้าชุบแอลกอฮอล์บิดหมาด
  2. ต้องแน่ใจว่าใส่แหวานรอง (Washer) ระหว่างคันยกแกน (Spindle lifting lever) และแกนเลื่อน (Photo.1)
  3. ไม่ควรคลายสกรูยึดโดยไม่จำเป็น (หน้าสัมผัส แกนรับฝาหลัง แกนหมุนด้านบน คันยกแกนหมุน และชิ้นส่วนต่างๆของอินดิเคเตอร์)
  4. ขยับแกนเลื่อนขึ้นลงตลอดช่วงการใช้งานเพื่อเช็คว่ามีการเคลื่อนที่ได้ดีไม่ติดขัด
  5. เช็คตำแหน่งศูนย์ของอินดิเคเตอร์เมื่อหน้าสัมผัส และแกนรับชนกัน

ก่อนการใช้งาน

  1. ไม่ขยับแกนเลื่อน (Spindle) ขึ้นลงอย่างรวดเร็ว หรือใช้แรงดันในแนวด้านข้าง เนื่องจากอาจส่งผลต่อค่าความถูกต้องของเครื่องมือวัด (Fig.1)
  2. ตัวอักษร “E” ที่ปรากฎเป็นบางครั้งบนหน้าจอในตำแหน่งสุดท้ายขณะมีการขยับแกนเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตามถ้าหากยังแสดงผลต่อไป แม้ว่าแกนเลื่อนจะไม่ขยับแล้วจำเป็นต้องนำเครื่องซ่อมบำรุง (Fig.2)
  3. ถ้าตำแหน่งศูนย์ (zero-point) มีการขยับ หรือเปลี่ยนขณะที่ทำการวัด ให้ทำความสะอาดจุดสัมผัส และแกนรับ และทำการตั้งค่าจุดศูนย์อีกครั้ง
  4. ไม่ควรคลายสกรูสำหรับยึดแกนอินดิเคเตอร์
  5. ไม่ควรทำการถอดเปลี่ยนหน้าสัมผัส (Contact Point) ด้วยตนเอง ควรติดต่อบริษัท เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยน
  6. หากมีการใช้งานเครื่องมือวัดเป็นเวลานานๆ ให้ทำการตั้งค่าจุดศูนย์ เป็นระยะเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนอันเนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้น

หากเครื่องมือวัดเกิดความเสียหาย อันเนื่องมาจากการตก หรือกระแทกอย่างแรง หรือสาเหตุอื่นๆ ห้ามใช้เครื่องมือวัดนั้น และให้ติดต่อกลับบริษัทฯ เพื่อทำการซ่อมแซม

หลังการใช้งาน

  1. ตรวจสอบความเสียหายของอินดิเคเตอร์ ถ้าตรวจพบให้เตรียมการซ่อมแซม หรือทดแทน จากนั้นทำความสะอาดเครื่องมือวัด
  2. ไม่ควรใช้น้ำมันหล่อลื่นกับแกนเลื่อน
  3. เพื่อเป็นการป้องกันหน้าสัมผัสกับแกนรับ ให้สอดชิ้นกระดาษอาบน้ำมันระหว่างหน้าสัมผัสก่อนจัดเก็บ (Photo 2)
  4. จัดเก็บเครื่องมือวัดในห้องที่ไม่มีความร้อน และความชื้นสูง รวมถึงฝุ่นและละอองน้ำมัน