ในการต๊าปด้วย ต๊าปคาร์ไบด์ มีข้อควรระวังอะไรบ้างคะ ??

ในการจะใช้ต๊าปคาร์ไบด์ให้เหมาะสม ต้องควรระวังในการเลือกใช้วัสดุชิ้นงานอะไร

โดยปกติต๊าปคาร์ไบด์มักจะใช้กับ เหล็กหล่อ หรือ อลูมิเนียมฉีด แต่ในทางกลับกัน ต๊าปคาร์ไบด์จะไม่เหมาะสมกับ เหล้กกล้า หรือสแตนเลส และควรระมัดระวังเมื่อใช้ต๊าปคาร์ไบด์กับเครื่องจักรที่ไม่ใช่เครื่อง CNC หรือเครื่องจักรที่ไม่แข็งแรง เพราะจะเกิดปัญหาเกลียวล้ม และแตกหักได้

คำแนะนำ


ลักษณะของเศษ

วัสดุชิ้นงานที่เหมาะสม

ต๊าปคาร์ไบด์จะเหมาะกับงานประเภทเหล็กหล่อ และอลูมิเนียมฉีด เนื่องจากเศษที่ขับออกมานั้นเป็นแบบเล็กละเอียด (ตามรูปด้านข้าง)

ปัจจุบันต๊าปคาร์ไบด์นั้นยังถูกใช้ในการกัดวัสดุชุบแข็ง ที่มีความแข็งถึง 60HRC หรือมากกว่านั้น

เมื่อเปรียบเทียบกับต๊าปไฮสปีด ต๊าปคาร์ไบด์จะมีความเหนียวน้อยกว่า ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาเกลียวล้ม และเกลียวแตกได้

ดังนั้นจึงต้องเลือกวัสดุชิ้นงานด้วยความระมัดระวังในกรณีที่ใช้ต๊าปคารไบด์

ตัวอย่างต๊าปคาร์ไบด์

N-CT FC : สำหรับเหล็กหล่อ
N-CT LA : สำหรับอลูมิเนียม
EH-CT : สำหรับเหล็กชุบแข็ง (4HRC – 55HRC)
UH-CT : สำหรับเหล็กชุบแข็ง (55HRC – 63HRC)
HFACT    HFICT : สำหรับการต๊าปความเร็วสูง

ให้ฉันลองใช้ต๊าปคาร์ไบด์ กับงานอลูมิเนียม ADC12 และจะใช้ต๊าปไฮสปีดกับงานเหล็กกล้า และงานสแตนเลสต่อไป

คำแนะนำ


ต๊าปคาร์ไบด์ เมื่อเทียบกับต๊าปไฮสปีด เราสามารถคาดหวังความคงทนที่มากขึ้นถ้าใช้งานอย่างถูกวิธี โดยจะช่วยปรับปรุงคุณภาพในการเลือกใช้ต๊าปที่ต้องเปลี่ยนบ่อย

ต๊าปคาร์ไบด์ เหมาะกับการใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิต เนื่องจากใช้ความเร็วสูง และมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นกว่าต๊าปไฮสปีด

ต๊าปคาร์ไบด์ ให้ผลลัพธ์ด้านผิวเกลียวที่ดีขึ้น

<ข้อควรระวัง>

  1. การสั่นสะเทือนรุนแรงในการกัด อาจจะส่งผลให้คมตัดของต๊าปหัก
  2. ควรระวังเรื่องของการร่วมศูนย์ของรูก่อนต๊าป และต๊าป
  3. คมตัดของต๊าปอาจจะเกิดการแตกตากรูก่อนต๊าปที่มีความเอียง และไม่เป็นทรงกระบอก
  4. วัสดุชิ้นงาน : ควรเลือกวัสดุชิ้นงานที่ให้เศษเป็นแบบสั้นละเอียด เนื่องจากต๊าปคาร์ไบด์จะมีความเหนียวต่ำกว่า เมื่อเทียบกับต๊าปไฮสปีด