ก่อนการใช้งาน
1. ทำความสะอาดแกนเลื่อน (spindle) หน้าสัมผัว (contact point) และแกนรับ (anvil) ด้วยผ้าแห้ง หรือผ้าชุบแอลกอฮอล์บิดหมาด
2. ต้องแน่ใจว่าใส่แหวนรอง (washer) ระหว่างคันยกแกน (spindle lifting level) และแกนเลื่อน (Photo 1)
3. ไม่ควรคลายสกรูยึดโดยไม่จำเป็น (หน้าสัมผัส แกนรับฝาหลัง แกนหมุนด้านบน คันยกแกนหมุน และชิ้นส่วนต่างๆของอินดิเคเตอร์)
4. ขยับแกนเลื่อนขึ้นลงตลอดช่วงการใช้งาน เพื่อเช็คว่ามีการเคลื่อนที่ได้ดีไม่ติดขัเ
5. เช็คตำแหน่งศูนย์ของอินดิเคเตอร์เมื่อหน้าสัมผัส และแกนรับชนกัน
ระหว่างการใช้งาน
1. ไม่ควรขยับแกนเลื่อน (spindle) ขึ้นลงอย่างเร็ว หรือใช้แรงดันในแนวด้านข้าง เนื่องจากอาจส่งผลต่อความถูกต้องของเครื่องมือ (Fig.1)
2. ตัวอักษร "E" ที่ปรากฎเป็นบางครั้งบนหน้าจอในตำแหน่งสุดท้ายขณะมีการขยับแกนเลื่อนเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตามถ้าหากยังแสดงผลต่อไป แม้ว่าแกนเลื่อนจะไม่ขยับแล้วจำเป็นต้องนำเครื่องซ่อมบำรุง (Fig.2)
3. ถ้าตำแหน่งศูนย์ (zero point) มีการขยับ หรือเปลี่ยนขณะที่ทำการวัด ให้ทำความสะอาดจุดสัมผัส และแกนรับ และทำการตั้งค่าจุดศูนย์อีกครั้ง
4. ไม่ควรคลายสกรูสำหรับยึดแกนอินดิเคเตอร์
5. ไม่ควรทำการถอดเปลี่ยนหน้าสัมผัส (contact point) ด้วยตนเอง ควรติดต่อบริษัทถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยน
6. หากมีการใช้เครื่องมือวัดเป็นเวลานานๆ ให้ทำการตั้งค่าจุดศูนย์เป็นระยะ เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนอันเนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้น
หากไฮเกจชำรุดอันเนื่องจากการตก หรือกระแทกอย่างแรง หรือสาเหตุอื่นๆ ห้ามใช้งาน และให้ติดต่อกลับบริษัท เพื่อทำการซ่อมแซม
หลังการใช้งาน
1. ตรวจสอบความเสียหายของอินดิเคเตอร์ ถ้าตรวจพบให้เตรียมการซ่อมแซม หรือทดแทน จากนั้นทำความสะอาดเครื่องมือวัด
2. ไม่ควรใช้น้ำมันหล่อลื่นกับแกนเลื่อน
3. เพื่อป้องกันหน้าสัมผัสกับแกนรับ ให้สอดชิ้นกระดาษอาบน้ำมันระหว่างหน้าสัมผัสก่อนจัดเก็บ (Photo 2)
4. จัดเก็บเครื่องมือวัดในห้องที่ไม่มีความร้อน และความชื้นสูง รวมถึงฝุ่น และละอองน้ำมัน