ทำไมต๊าปมือต้องมี 3 แบบ
ตัวที่ 1, 2 และ 3 ลุงนกฮูกรวบกวนช่วยบอกถึงความแตกต่างได้ไหมคะ
มันแตกต่างกันตรงที่ความยาวของแชมเฟอร์ครับ
ส่วนของแชมเฟอร์ จะอยู่ตรงข้ามกับก้านโดยอยู่ในส่วนที่เป็นเกลียว ช่วงที่เป็นส่วนเอียง ไปจนปลายต๊าป เกลียวจะถูกตัดโดยส่วนของแชมเฟอร์ในระหว่างการหมุนตัด จำนวน เกลียวในส่วนของแชมเฟอร์ จะแตกต่างกันตามต๊าปตัวที่ 1, 2 และ 3
(จากรูปเป็นต๊าบตัวที่ 2)ต๊าปตัวที่ 1 มีส่วนของแชมเฟอร์ 9 ฟัน
ส่วนที่เล็กที่สุดของแชมเฟอร์ 9 ฟันจะเป็นจุดเริ่มทำเกลียว เมื่อมีการหมุนลงไปในชิ้นงานต๊าปมือ โดยเมื่อหมุนลงไปเรื่อยๆ เกลียวเต็ม 1 เกลียวจะถูกกัดด้วย 9 ฟันของส่วนแชมเฟอร์ ซึ่งจะทำให้เป็นการกัดที่ง่ายที่สุด เนื่องจากการกัดเนื้องานด้วยความหนาน้อยสุด มักถูกใช้เป็นตัวเริ่มต้น หรือใช้ในรูทะลุต๊าปตัวที่ 2 มีส่วนของแชมเฟอร์ 5 ฟัน
ต๊าปตัวที่ 2 ก็มีหลักการทำงานกัดเกลียวเหมือนต๊าปตัวที่ 1 เรายังสามารถใช้ต๊าปตัวที่ 2 เป็นตัวเริ่มการ กัดเกลียวโดยไม่ต้องใช้ต๊าปตัวที่ 1 แต่อาจจะต้องมีตัวช่วยในเรื่องของจุดศูนย์กลางเกลียว ในกรณีรูตัน ต๊าปตัวที่ 2 จะใช้หลังจากตัวที่ 1 เพื่อทำให้เกลียวเต็มมากขึ้นในท้ายรูต๊าปตัวที่ 3 มีส่วนของแชมเฟอร์ 1.5 ฟัน
เมื่อใช้ต๊าปตัวที่ 3 ด้วยมือจะมีส่วนของแชมเฟอร์สั้นเกินไปที่จะใช้เป็นตัวเริ่มทำเกลียว ต๊าปตัวที่ 3 มักจะ ใช้เป็นตัวสุดท้ายเพื่อทำเกลียวเต็มในท้ายรูเท่านั้น
เมื่อใช้ต๊าปมือด้วยเครื่องจักร
- ต๊าปตัวที่ 2 มักจะถูกใช้โดยไม่ต้องใช้ต๊าบตัวที่ 1 ในงานรูทะลุ
- ต๊าปตัวที่ 3 สามารถใช้ในงานรูตันได้เลย โดยไม่ต้องใช้ตัวที่ 1 และ 2
การเข้าใจในความแตกต่างของความยาวของแชมเฟอร์ ของแต่ละตัวต๊าปจะช่วยให้การต๊าปทำได้ดีขึ้น