No.005 วิธีการใช้โรลต๊าป

 

 

 

 

เรากำลังจะใช้โรลต๊าปเป็นครั้งแรก รบกวนช่วยแนะนำวิธีการใช้ให้ได้ไหม เพราะเท่าที่ทราบมา มันไม่ง่ายที่จะควบคุมขนาดของรูก่อนต๊าป

 

 

 

 

 

 

 

การใช้โรลต๊าปอย่างเหมาะสมนั้นไม่ยาก ถ้าคุ้นเคยกับวิธีการเลือกว่าจะใช้โรลต๊าป เพียงถ้าเราทำตามมาตรฐานที่กำหนดให้ก็จะใช้งานได้ดีขึ้น ผมว่ามันมีทางลัดที่จะช่วยได้


 

 

 

 

 

 

 

 

 

• เมื่อคุณมีประสบการณ์ในการใช้โรลต๊าป คุณจะมีวิธีของตัวเองในการใช้ อย่างไรก็ดี ผมจะนำเสนอพื้นฐานการใช้โรลต๊าป


 

พื้นฐานการเลือกโรลต๊าป

 

วัสดุชิ้นงานที่จะทำการต๊าป

● ควรตรวจสอบวัสดุชิ้นงานที่เหมาะจะใช้โรลต๊าป โดยโรลต๊าปจะเหมาะกับ อโลหะ เช่น อลูมิเนียม, เหล็กนิ่ม ไม่ใช่เหล็กหล่อหรือเหล็กแข็ง

ขั้นแรกของการเลือกโรลต๊าป

● YAMAWA N+RS ใช้สำหรับอโลหะเช่น อลูมิเนียม และ N+RZ สำหรับเหล็กนิ่ม ถ้าต้องการเพิ่มอายุการใช้งานให้ใช้ HP+RZ
● ผมแนะนำ Plug แชมเฟอร์สำหรับรูทะลุ และ Bottoming แชมเฟอร์สำหรับรูตัน
● ผมแนะนำให้มาใช้คลาสมาตรฐานเกลียวสำหรับการสวมฟิต

วิธีการตรวจสอบคลาสเกลียวใน

สำหรับเกลียวแรกให้เตรียมรูก่อนต๊าปที่ใหญ่กว่าคำแนะนำเล็กน้อย

● สำหรับเกลียวแรกให้เตรียมรูก่อนต๊าปที่ใหญ่กว่าคำแนะนำเล็กน้อย
  ※ ถ้ารูก่อนต๊าปมีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาการขึ้นรูปเกลียวที่เยอะเกินไป และเกิดต๊าปหักได้

ต๊าปด้วยโรลต๊าปที่เลือกไว้

● เริ่มต้นการต๊าปด้วยโรลต๊าปครั้งแรก

①เมื่อเช็คด้วย Go ปลั๊กเกจแล้วแน่นให้ใช้ต๊าบที่มีคลาสสูงขึ้น

②เมื่อเช็ค NoGo ปลั๊กเกจแล้ว ทะลุผ่านให้ใช้ต๊าบที่มีคลาสต่ำลง

③ ถ้าเช็ค Go และ NoGo แล้ว OK แสดงว่าเราเลือกต๊าปได้ถูกต้องแล้ว

   

เมื่อเช็คด้วย Go ปลั๊กเกจแล้วแน่น ให้ใช้ต๊าบที่มีคลาสสูงขึ้น
 
ถ้าเช็ค NoGo ปลั๊กเกจแล้วทะลุผ่านให้ใช้ต๊าบที่มีคลาสต่ำลง
 
ถ้าเช็ค Go และ NoGo แล้ว OK แสดงว่าเราเลือกต๊าปได้ถูกต้องแล้ว

 

การอธิบายที่ผ่านมาดูยาก

แต่ทางเรารู้สึกว่าน่าจะทำได้ถ้าทำทีละขั้นตอนที่แนะนำ

 

ต้องทำได้แน่...

มาเลือกขนาดของรูก่อนต๊าปกันก่อนเถอะ

 

   

 

 

 

 

 

ในการกำหนดรูก่อนต๊าป จะทำไปพร้อมกับการเช็ค Minor diameter ด้วยปลั๊กเกจ หรือพินเกจ

 

 

 

 

 

 

ในการทดลองต๊าป เพื่อความปลอดภัย รูก่อนต๊าปจะถูกกำหนดให้มีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐานเล็กน้อย แล้วค่อยๆปรับลดเพื่อหาขนาดที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง


 

ขั้นตอนพื้นฐานในการกำหนดรูก่อนต๊าป

 

วัด Minor diameter ของเกลียวในที่ได้รับการตรวจ เช็คจาก GO และ NOGO เกจ ③ แล้ว OK

   


ถ้าเช็ค GO ปลั๊กเกจ แล้ว NG ให้ต๊าปใหม่โดยการใช้รูก่อนต๊าปที่ใหญ่ขึ้น

ถ้ารูก่อนต๊าปเล็กลง การขึ้นรูปเกลียวอาจเยอะเกินไป

 


ถ้าเช็คด้วย NOGO ปลั๊กเกจ แล้ว NG ให้ทำการต๊าปใหม่โดยใช้รูก่อนต๊าปเล็กลง

ถ้ารูก่อนต๊าปใหญ่ขึ้น การขึ้นรูปเกลียวอาจน้อยเกินไป

 


ถ้าเช็คด้วย GO และ NOGO ปลั๊กเกจแล้ว OK แสดงว่า เราได้เลือกรูก่อนต๊าปที่เหมาะสมแล้ว

ถ้าเช็คด้วย GO และ NOGO ปลั๊กเกจแล้ว OK แสดงว่าเราได้เลือกรูก่อนต๊าปที่เหมาะสมแล้ว

 

ถ้าต้องมีการปรับรูก่อนต๊าบ ให้ใหญ่ขึ้น หรือเล็กลงจะปรับอย่างไร

 

สมมติฐาน ให้

A = เป้าหมายขนาดของ Minor diameter
B = Minor diameter หลังจากต๊าบ
C = ค่าที่จะปรับ

จะคำนวนได้จาก C = (A-B) / 2

 

   
 
 

< ตัวอย่างการปรับค่ารูก่อนต๊าป >


M6x1 เป้าหมายของ Minor diameter ถูกกำหนดไว้ที่ 5.0 มิล (% เกลียวสวม = 93%) ถ้าเราสมมติให้ตั้งค่ารูก่อนต๊าปเท่ากับ 5.4 มิล

จะได้เกลียวที่มีค่า Minor diameter 4.8 มิล (% เกลียวสวมเท่ากับ 111%) ก็จะเหมือนกับข้อ ④ ที่โชว์อยู่ด้านบนในกรณีนี้สูตรจะเป็น (5.0-4.8)/2 = 0.1

ถ้าเราเพิ่มขนาดรูขึ้น 0.1 มิล จาก 5.4 มิล จะได้เกลียวที่มี Minor diameter ใกล้ 5.0 มิล

ในทางกลับกันเราใช้รูก่อนต๊าปขนาด 5.6 มิล ได้เกลียวที่มี Minor diameter ขนาด 5.2 มิล (% เกลียวสวมเท่ากับ 74%)

ในกรณีนี้สูตรจะเป็น (5.0-5.2)/2 = 0.1 ถ้าเราลดขนาดรู 0.1 มิล จาก5.6 มิล เราจะได้เกลียวที่มี Minor diameter ใกล้ 5.0 มิล

ในรูปที่ ⑥ ถ้ารูก่อนต๊าปเป็น 5.5 มิล เราก็จะได้เกลียวที่ Minor diameter ขนาด 5.0 มิล ในความเป็นจริงอาจไม่ง่ายขนาดนี้

แต่วิธีนี้ถือเป็นวิธีคำนวณรูก่อนต๊าปอย่างง่าย

 
 

เครื่องมือที่ใช้เช็ครูก่อนต๊าบ ให้ใช้ CPC-S

(เครื่องมือสำหรับตรวจสอบ Minor diameter สำหรับต๊าปตัดเฉือน)

 

 

เช็คพิน สำหรับรูก่อนต๊าบ : CPC-S  
เราสามารถตรวจสอบ Minor diameter ในอัตราส่วนของเกลียวสวม 100% - 70% ลดทีละ 5% ได้